วันอังคาร






บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร  จำกัด (มหาชน)

            และบริษัทย่อย หรือ กลุ่มซีพีเอฟมีเป้าหมายในการคงความเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารสัตว์ที่เป็นธุรกิจแรกเริ่มของบริษัท พร้อมๆไปกับการก้าวมาเป็นผู้นำในธุรกิจเนื้อสัตว์ และอาหารจากเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศไทย และในทุกประเทศที่กลุ่มบริษัทมีการลงทุน พร้อมไปกับความมุ่งหวังในการสร้างผลกำไรจากการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และมีการดูแลกำกับกิจการที่ดีเพื่อให้มีธุรกิจที่แข็งแกร่ง สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล

ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะมุ่งสู่การเป็น ครัวของโลก” (Kitchen of the World) บริษัทมุ่งมั่นที่จะผลิตผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย และปลอดภัยต่อการบริโภคสอดคล้องกับความพึงพอใจ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

      
ประวัติความเป็นมา
ซีพีเอฟจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2521 ในนาม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัดด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท โดยเริ่มมีรายได้จากการจำหน่ายอาหารสัตว์บก ในเขต 9 จังหวัดภาคใต้ในปี2524 และต่อมาในปี 2530 ได้เริ่มขยายธุรกิจไปสู่การเลี้ยงสัตว์บก โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจในลักษณะครบวงจรมากขึ้น ในปี 2531 ซีพีเอฟเริ่มดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในด้านการผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้ง การเพาะเลี้ยงกุ้ง และการแปรรูปกุ้งเพื่อในปี 2541 ได้มีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยซีพีเอฟได้เข้าซื้อบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมด้านการเลี้ยงสัตว์ และการแปรรูปเนื้อสัตว์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารงานของซีพีเอฟ การปรับโครงสร้างทางธุรกิจในครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงต้นปี 2542 ซึ่งมีผลทำให้ซีพีเอฟเป็นแกนนำในการดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในประเทศไทย และเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจและเป้าหมายหลักของบริษัทที่มุ่งเน้นผลิตอาหารที่มีคุณภาพสู่ตลาดทั่วโลก ซีพีเอฟจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)ในเดือนธันวาคม 2542 ภายใต้โครงสร้างใหม่นี้ ทำให้ซีพีเอฟมีการดำเนินธุรกิจครอบคลุมไปทั่วทุกภาคของประเทศ โดยแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลักคือ ธุรกิจสัตว์บก และธุรกิจสัตว์น้ำ ซึ่งทั้ง 2 ธุรกิจนี้มีการดำเนินงานในลักษณะครบวงจร โดยเริ่มจากการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์การส่งออก


    
โครงสร้างการจัดการของบริษัท


ธุรกิจของบริษัท
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด(มหาชน) เป็นบริษัทหลักในประเทศไทยของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมด้านการเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศและต่าประเทศ  การดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทยการ  ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจรในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดยซีพีเอฟและบริษัทย่อยในประเทศไทยนั้นเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ 
การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าการแปรรูปเนื้อสัตว์จน กระทั่งถึงการผลิตอาหารสำเร็จรูป


ค่านิยมองค์กร
ซีพีเอ ยึดมั่นในคุณธรรมจรรยาบรรณและใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการดำเนินธุรกิจโดยได้คำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคตลอดจนการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม การมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการ ใหม่ๆที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีที่นำสมัย อันจะยังประโยชน์ให้กับคู่ค้า และลูกค้าทั้งปวง ซีพีเอฟ ตระหนักดีว่าทรัพยากรบุคคลเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัท การมีค่านิยมและพฤติกรรมการทำงานที่ดี และเหมาะสมเปรียบเสมือนพลังผลักดัน ให้บริษัทเดินไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เราจึงได้ประกาศ คุณค่าหลักขององค์กร 6 ประการ ที่เรียกว่า ซีพีเอฟเวย์ (CPF Way) อันเป็นพฤติกรรมพื้นฐานขององค์กร ที่จะทำให้พนักงานทุกคน มีส่วนร่วมแรงร่วมใจกันสร้างธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้





นโยบายการลงทุนและการบริหารงาน

ภายหลังการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ ซีพีเอฟได้กำหนดนโยบายการลงทุนที่ชัดเจนว่าจะลงทุนเฉพาะในธุรกิจหลักหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของซีพีเอฟเท่านั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ซีพีเอฟมีเงินลงทุน (วิธีราคาทุน) ในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้องรวม 21,514 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ของสินทรัพย์รวมของซีพีเอฟ โดยซีพีเอฟมีนโยบายที่จะแต่งตั้งตัวแทนเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการที่มีอำนาจควบคุมในบริษัทย่อย เพื่อควบคุมดูแลการบริหารงานของบริษัทย่อยให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ ซีพีเอฟจะได้รับรายงานผลการดำเนินงานจากบริษัทย่อยเป็นประจำทุกเดือน และมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานและร่วมกันวางแผนงานและเป้าหมายในการดำเนินงาน


ในการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนในแต่ละครั้ง ซีพีเอฟอาจจะเข้าลงทุนเอง หรือให้บริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันเป็น ผู้ลงทุน ทั้งนี้ หากเป็นการลงทุนในบริษัทย่อย ซีพีเอฟมีนโยบายที่จะลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 100 เว้นแต่จะเป็นการลงทุนร่วมกันกับพันธมิตรทางธุรกิจ


ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ และความต้องการของผู้บริโภคอาหารทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคต้องการสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา คุณภาพ และความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)หรือซีพีเอฟ มีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยผนึกรวมจุดแข็งของความเป็นผู้นำด้านการผลิตแบบครบวงจรทั้งปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ เข้ากับระบบประกันคุณภาพที่แข็งแกร่งในขบวนการผลิตอาหารทำให้ระบบประกันคุณภาพของซีพีเอฟ เป็นคุณภาพแบบครบวงจรจากฟาร์มสู่ผู้บริโภคอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตความสามารถของซีพีเอฟ ในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั่วโลกด้านคุณภาพ และความปลอดภัยอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร
วงจรคุณภาพของซีพีเอฟ เริ่มตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค  ตลอดช่วงของการผลิต และการจำหน่าย  ขอบเขตการประกันคุณภาพไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่อง ความปลอดภัยอาหารเท่านั้น หากแต่รวมถึงคำนึงถึงคุณภาพด้านรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการด้วยทั้งนี้รวมถึงการคัดเลือกวัตถุดิบ และผู้ผลิต คุณภาพขบวนการผลิต การขนส่ง และการจำหน่ายสินค้าจนถึงมือผู้บริโภค

ระบบมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร
ผู้บริโภคต่างต้องการความเชื่อมั่นในอาหารที่บริโภคว่าคุณภาพดีและปลอดภัย ซีพีเอฟตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว  จึงได้จัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยอาหารที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งรวมถึงระบบมาตรฐานขั้นตอนการผลิตอาหารที่ดี(GMP), ระบบวิเคราะห์อันตราย และควบคุมจุดวิกฤต (HACCP), ระบบบริหารคุณภาพ (ISO9001 และ ISO22000) รวมทั้งระบบบริหารคุณภาพ และความปลอดภัยอาหารของสหราชอาณาจักร (BRC) นอกจากนี้ระบบสุขศาสตร์และการจัดการด้านสุขอนามัยจัดได้ว่าเป็นหัวใจหลักในการผลิตอาหารของซีพีเอฟ เมื่อรวมกับระบบตรวจสอบย้อนกลับ และการจัดการความปลอดภัยอาหารที่มีประสิทธิภาพแล้วทำให้บริษัทสามารถจัดการกับปัญหาด้านคุณภาพอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีระบบเรียกคืนสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง
นอกจากนี้บุคลากรด้านคุณภาพของซีพีเอฟ ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร พนักงานตรวจสอบวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญด้านประกันคุณภาพล้วนแต่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์อย่างสูงในการบริหารจัดการด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ซีพีเอฟมีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารที่มีเครื่องมือที่ทันสมัย ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์คุณภาพทั้งด้านจุลินทรีย์ ด้านเคมี และคุณค่าทางอาหาร ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลากรเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคคลากรและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆของซีพีเอฟ สามารถก้าวทันความรู้และเทคโนโลยีตลอดเวลา


ธุรกิจของบริษัท
ธุรกิจอาหารสัตว์

ซีพีเอฟเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์บกในประเทศไทย มีการผลิตอาหารสัตว์ทั้งในรูปหัวอาหารและอาหารสำเร็จรูปชนิดผงและชนิดเม็ด มีโรงงานผลิตครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทย จำหน่ายอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ผ่านตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากกว่า 600 รายทั่วประเทศ และจำหน่ายโดยตรงให้แก่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ โดยซีพีเอฟให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิตให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ได้สินค้าอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ มีอัตราแลกเนื้อที่ดีสำหรับการเลี้ยงสัตว์ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีต้นทุนการเลี้ยงที่ต่ำลง

ด้านกระบวนการผลิต ซีพีเอฟนำเอาพืชผลทางการเกษตร โดยหลักได้แก่ ข้าวโพด และกากถั่วเหลือง มาผลิตอาหารสัตว์แบบเม็ด ด้วยสูตรอาหารตามโภชนาการที่สัตว์แต่ละประเภทและแต่ละอายุต้องการ โดยควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้อาหารสัตว์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและได้มาตรฐานตามที่กำหนด และจัดจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของซีพีเอฟเอง ได้แก่ ซีพี ไฮโปรไวท์ ไฮ-โกร สตาร์ฟีด โนโว่ เซฟฟีด เอราวัณ และกำหนดราคาขายโดยพิจารณาจากต้นทุนการผลิตในแต่ละช่วงเวลา และจะสอดคล้องกับราคาขายควบคุมที่ประกาศโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ซีพีเอฟมีบริการหลังการขายโดยมีสำนักงานตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับเป็นศูนย์กลางเผยแพร่เทคนิคการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งช่วยในเรื่องของการจัดการด้านการตลาด และการจัดจำหน่าย

ธุรกิจการเลี้ยงสัตร์
ผลิตภัณฑ์ภายใต้ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ประกอบด้วย พันธุ์สัตว์ สัตว์มีชีวิต ไข่สด และเนื้อสัตว์แปรรูปพื้นฐาน ดังมีรายละเอียดดังนี้

ซีพีเอฟเป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์ตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งพันธุ์สัตว์ที่มีคุณภาพ แข็งแรง และเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงในประเทศ มีการผลิตลูกไก่พ่อแม่พันธุ์เนื้อ ลูกไก่พ่อแม่พันธุ์ไข่ สุกรพ่อแม่พันธุ์ ลูกไก่เนื้อ ลูกไก่ไข่ ไก่รุ่นไข่ ลูกเป็ดเนื้อ และลูกสุกร โดยเริ่มตั้งแต่การนำเข้าพันธุ์มาจากต่างประเทศ เพื่อนำมาเพาะพ่อแม่พันธุ์และเลี้ยงต่อเป็นสัตว์เพื่อการค้าในฟาร์มของซีพีเอฟ หรือขายออกใหักับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย โดยในส่วนของปู่ย่าพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนพ่อแม่พันธุ์และอาหารสัตว์ส่วนใหญ่มาจากผลผลิตของซีพีเอฟเอง

ฟาร์มพันธุ์สัตว์ของซีพีเอฟกระจายอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยมีระบบการจัดการเลี้ยงสัตว์ในรูปของระบบโรงเรือนปิดปรับอากาศ (Evaporative Cooling System) ซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงที่ทันสมัยมีระบบการให้อาหารและน้ำอัตโนมัติ มีระบบการระบายอากาศเพื่อทำให้อากาศในโรงเรือนอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับการเลี้ยงตลอดเวลา รวมถึงมาตรการและระบบการควบคุมและป้องกันพาหะนำโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยทั้งหมดนี้มีการควบคุมฟาร์มด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

ราคาพันธุ์สัตว์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้และปริมาณผลผลิตที่มีจำหน่ายในประเทศไทย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นโยบายด้านการขายจึงให้ความสำคัญกับการบริการหลังการขาย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับเป็นศูนย์กลางเผยแพร่เทคนิคการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร พร้อมกับช่วยในเรื่องของการจัดการด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้รวมถึง ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ เป็ดมีชีวิต ไข่เป็ด สุกรเนื้อมีชีวิต และเนื้อสัตว์แปรรูปพื้นฐาน ซึ่งซีพีเอฟจำหน่ายสู่ผู้บริโภคผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ จำหน่ายในท้องถิ่น จำหน่ายให้ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก รวมทั้งจำหน่ายให้กับโรงงานแปรรูปอาหารของกลุ่มซีพีเอฟเองและโรงงานแปรรูปอาหารอื่นๆ ในประเทศไทย โดยราคาจำหน่ายของสินค้าในกลุ่มนี้ผันแปรไปตามปริมาณความต้องการและปริมาณผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาด ณ ขณะใดขณะหนึ่ง

ซีพีเอฟดำเนินการด้านฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ด้วยการให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนาวิธีเลี้ยงให้ทันสมัย เหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงในประเทศ และมีระบบควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สัตว์เติบโตเร็ว อัตราแลกเนื้อดี ผลผลิตสูงและประหยัดต้นทุน โดยปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร ซีพีเอฟได้ใช้ระบบปิดปรับอากาศ (Evaporative Cooling System) ในการเลี้ยง ซึ่งเป็นระบบที่เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนปิด มีระบบการให้อาหารและน้ำอัตโนมัติ และควบคุมการเลี้ยงด้วยระบบคอมพิวเตอร์

นอกเหนือจากการทำฟาร์เลี้ยงสัตว์เองแล้วนั้น ซีพีเอฟได้มีโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกร ด้านการเลี้ยงสุกรเนื้อและไก่เนื้อ โดยซีพีเอฟจะดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรที่มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์และอุปกรณ์การเลี้ยงของตนเอง ซึ่งหากผ่านการคัดเลือก ซีพีเอฟจะให้การสนับสนุนด้านพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ และให้ความรู้ด้านวิธีการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกร ทั้งนี้ เกษตรกรจะได้รับค่าตอบแทนตามปริมาณสัตว์ที่เลี้ยงได้สำเร็จได้ตามมาตรฐานของซีพีเอฟ ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการของซีพีเอฟส่วนใหญ่ใช้ระบบปิดปรับอากาศ (Evaporative Cooling System) ในการเลี้ยงเช่นเดียวกับซีพีเอฟ

ซีพีเอฟเป็นบริษัทแรกนอกสหภาพยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare Standard) สำหรับการผลิตไก่เพื่อการส่งออก ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนี้นับเป็นมาตรฐานการผลิตที่มีกฎระเบียบเข้มงวดที่สุดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน

ในการแปรรูปพื้นฐาน ซีพีเอฟนำผลผลิตจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่เนื้อ เป็ดและสุกร ส่งไปโรงงานแปรรูปเพื่อตัดแต่งเนื้อสัตว์ โดยแยกชิ้นส่วนและตัดแต่งชิ้นส่วนตามที่ตลาดต้องการ แล้วนำไปบรรจุและแช่เย็นหรือแข็งเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่เย็นแช่แข็ง ให้แก่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกในประเทศ และส่งออกผ่านผู้นำเข้าในต่างประเทศ โดยราคานั้นผันแปรไปตามปริมาณความต้องการและปริมาณผลผลิตที่มีจำหน่ายในประเทศไทยและตลาดโลก หรือเป็นราคาที่ตกลงกัน สำหรับสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า



ธุรกิจอาหาร


ซีพีเอฟได้นำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปไปเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าอาหารปรุงสุก และผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน โดยนำไปผสมเครื่องปรุงรส และทำให้สุก โดยผ่านขบวนการต้ม นึ่ง ทอด อบ และย่าง ตามความต้องการของลูกค้า จากนั้นจึงนำไปแช่แข็ง เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก ร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) และช่องทางการจำหน่ายแบบใหม่ (Modern Trade) เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เป็นต้น ส่วนการส่งออกเป็นการขายผ่านผู้นำเข้าในต่างประเทศ โดยประเทศที่นำเข้าหลักได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และซีพีเอฟได้มีการลงทุนในการขยายช่องทางจัดจำหน่ายมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มจุดจำหน่ายของซีพีเอฟเอง อาทิ จุดจำหน่ายไก่ย่างห้าดาว และร้านซีพี เฟรช มาร์ท และสำหรับตลาดต่างประเทศนั้น ซีพีเอฟได้มีสาขาและตัวแทนจำหน่ายในประเทศต่างๆ เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดกับลูกค้าและตลาดมากขึ้น อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ฮ่องกง แอฟริกาใต้ อังกฤษ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี เยอรมนี เดนมาร์ก และสหรัฐอเมริกา

ผลิตภัณฑ์อาหารปรุงสุกที่จำหน่ายในประเทศและส่งออก เช่น บะหมี่หมูพะโล้ ไก่คาราเกะแช่แข็ง ไก่ห่อสาหร่าย ไก่เทอริยากิ เป็ดย่าง อกไก่นึ่งแช่แข็ง ข้าวแกงเขียวหวานไก่ เต้าหู้ไข่ ลูกชิ้น และไส้กรอก เป็นต้น ซึ่งซีพีเอฟได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้ตราสินค้า ซีพี วีพอร์ค คิทเช่นจอย ไทยไทย ห้าดาว บีเค บีเคพี และรวมถึงการผลิตเพื่อจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของผู้ซื้อด้วยเช่นกัน โดยราคานั้นเป็นราคาที่ตกลงกันกับลูกค้าในแต่ละครั้งที่ทำสัญญาซื้อขาย

ซีพีเอฟให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องของ คุณภาพสินค้าที่จะต้องได้มาตรฐาน สะอาดถูกสุขอนามัย สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นสินค้าที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ได้มีการใช้ระบบสุ่มตรวจเพื่อตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของวัตถุดิบและสินค้าที่เป็นการตรวจสอบที่สายการผลิตต่างๆ อันจะช่วยทำให้ทราบถึงอัตราความสามารถในการผลิตทุกๆ ขั้นตอน รวมไปถึงการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มาตรฐานการผลิตระดับสากลที่ซีพีเอฟได้รับการรับรองเป็นสิ่งหนึ่งในการรับประกันคุณภาพของสินค้า และการจัดการของซีพีเอฟได้เป็นอย่างดี











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น