ฝ่ายการผลิต




ฝ่ายการผลิต
หน้าที่หลักของการผลิต
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
                1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
                2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
                3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
                4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
                5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ


การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการผลิต

            1. การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยช่วยในการผลิตสินค้า  ทำให้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากขึ้น ในเวลารวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และลดต้นทุนการผลิต เพราะเทคโนโลยีช่วยลดแรงงานหรือกำลังคนและลดเวลาการผลิต แต่ได้ปริมาณสินค้าและบริการมาก

            2. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบสินค้า ช่วยให้มีการคิดค้นหรือประดิษฐ์รูปแบบของสินค้า ทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่ๆ หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อได้ตามความต้องการและพึงพอใจมากที่สุด

            3. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการโฆษณาสินค้าและการให้บริการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการขายสินค้าและสั่งซื้อสินค้าต่างๆ โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคสามารถศึกษารายละเอียดของสินค้าได้มากขึ้นหรือสามารถสั่งซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว

            4. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ รวดเร็ว เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานเพื่อจัดเก็บเอกสารหรือค้นหาข้อมูล เป็นต้น

            5. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการขนส่ง เพื่อให้กระบวนการขนส่งวัตถุดิบในการผลิตรวดเร็วขึ้น หรือขนส่งสินค้าและบริการไปถึงผู้บริโภคได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

ระบบสารสนเทศสำหรับฝ่ายการผลิต


ระบบงาน
คำอธิบาย
ระดับการบริหารองค์กร
ลงเวลา
การลงเวลาปฏิบัติงานของพนักงาน
ระดับผู้ปฏิบัติงาน
การควบคุมเครื่องจักร
ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ระดับผู้ปฏิบัติงาน
ระบบช่วยเขียนแบบ (CAD)
ออกแบบสินค้ำใหม่โดยใช้คอมพิวเตอร์
ระดับผู้ชำนาญการ
สถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก
กำหนดสถานที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตสินค้า
ระดับผู้กำหนดกลยุทธ์

การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)

การกำหนดความต้องการของระบบ
                ระบบฝ่ายการผลิตได้รับการอนุมัติจากการนาเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาและได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้วนั้น ดั้งนั้นในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบจึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิมและดู และกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้การผลิตผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการเกิดความผิดพลาด และไม่ได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการตามที่ลูกค้าต้องการหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสียหายมากเกินความจำเป็น บันทึกการตรวจสอบ และผลการผลิตรายงานส่งผู้บริหาร (Quality Management Representative: QMR) โดยเน้นการทำงาน ไปที่การตรวจสอบ ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งแตกต่างจาก กระบวนการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ที่เน้นระบบการจัดการป้องกัน (Prevention ) ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ

ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
1.             เวลาจะสั่งวัตถุดิบต่าง ๆ จะต้องเดินทางไปยังแหล่งตลาดของวัตถุนั้น ทำให้เสียเวลาในการเดินทางและเป็นการเพิ่มต้นทุนด้วย
2.             เก็บข้อมูลขึ้นตอนและกระบวนการผลิตต่าง ๆ ลงสมุดบันทึก
3.       คุณภาพในการผลิตสินค้าแต่ละครั้งไม่เท่ากัน
4.       พนักงานขาดความรู้ในการผลิต
5.       การลงเวลาทำงานของพนักงานไม่ตรงตามความจริง

 ความต้องการในระบบใหม่ (ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากระบบใหม่)

1.             เพิ่มผลผลิตให้มีมากขึ้น ลดความสิ้นเปลืองจากการสูญเสีย วัตถุดิบในกระบวนการผลิตลง
2.  ลดต้นทุนการผลิต เพราะการผลิตสินค้าจำนวนมากจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น และอาจทำให้สินค้ามีราคาถูกลง
3.  ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน  เป็นการเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีแบบให้เลือกหลากหลาย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพขึ้น
     ลดแรงงานหรือกำลังคนทำงานได้น้อยลง
5.             การผลิตสินค้าและบริการช่วยให้สินค้าและบริการมีคุณภาพได้มาตรฐานตามแบบสากล  กล่าวคือ มีการกำหนดระดับคุณภาพ  จัดทำมาตรฐาน  ควบคุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่การตรวจสอบคุณภาพ  การควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพการใช้งานของสินค้า
6.             การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้เกิดความปลอดภัยในกระบวนการทำงาน  ทำให้พนักงานได้ผลงานที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง
7.             การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการช่วยให้หน่วยธุรกิจหรือรัฐบาลมีผลกำไรเพิ่มขึ้นจากการประกอบการ ทำให้ภาคการผลิตเกิดความมั่นคง ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค  กล่าวคือ  ถ้าหน่วยธุรกิจมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคง ส่งผลให้พนักงานมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงในการทำงาน  อัตราการว่างงานลดลง รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้น
8.             การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยช่วยในการผลิตสินค้า  ทำให้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากขึ้น ในเวลา รวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และลดต้นทุนการผลิต เพราะเทคโนโลยีช่วยลดแรงงานหรือกำลังคนและลดเวลาการผลิต แต่ได้ปริมาณสินค้าและบริการมาก
9.             การใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบสินค้า ช่วยให้มีการคิดค้นหรือประดิษฐ์รูปแบบของสินค้า ทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่ๆ หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อได้ตามความต้องการและพึงพอใจมากที่สุด
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ

(Process Modeling)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
(System Requirement Structuring)
จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD




 อธิบาย Context Diagram
ลูกค้า
- ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิก
- จัดเก็บข้อมูลลูกค้าจากการสมัคร
- ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้า
- ลูกค้าส่งรายการสั่งซื้อสินค้าให้พนักงาน
- ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านธนาคาร
- ลูกค้าส่งใบ Fax Payment เข้ามายังบริษัท
พนักงาน
- ออกใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า
- สำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า
- รับใบ Fax Payment จากลูกค้า
- ตรวจสอบใบ Payment
- พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน
- ส่งสำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้าไปยังคลังสินค้า
คลังสินค้า
- จัดของตามสำเนารายการสั่งซื้อสินค้า
- เรียกดูข้อมูลลูกค้า
- ออกใบส่งสินค้า
- จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

Dataflow Diagram Level 1

อธิบาย DFD Level 1
1.ฝ่ายการตลาดและการขาย
                - เรียกดูรายงานข้อมูลสินค้าที่ผลิต
2.ฝ่ายการผลิต
                -  ต้องการทราบว่าให้ผลิตสินค้าชนิดใดเพิ่ม
-  ต้องการทราบยอดสินค้าที่ผลิต
                -  แจ้งยอดสินค้าต่อฝ่ายผลิต
               -  บอกว่าต้องการชนิดใดเพิ่ม
         -  รายงานกิจกรรมทางการตลาด
3.ระบบพิมพ์งาน
                - นำข้อมูลจากระบบการผลิตมาทำรายงาน
                - นำข้อมูลจาก D1 มาทำรายงานส่งให้กลับฝ่ายการตลาดและการขาย
4.ฝ่ายคลังสินค้า
                -  ต้องการทราบจำนวนสินค้าที่ผลิต
                -  ระบบรายงานจำนวนสินค้าต่อฝ่ายคลังสินค้า
5.ฝ่ายบัญชี
                - นำข้อมูลจาก D2 , D3 มาจัดการข้อมูล
6.ระบบจัดการข้อมูล
                - นำข้อมูลจากฝ่ายการตลาดและการขาย,ฝ่ายการผลิต,ฝ่ายคลังสินค้ามาเก็บไว้ใน D1 D2 และD3
อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 1

Process 1 ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลักมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 Process ดังนี้
1. Process 1.1 เลือกรายการและตรวจสอบรายการที่ต้องการปรับปรุง เป็นขั้นตอนการเลือกรายการและตรวจสอบรายการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มข้อมูลลูกค้าและดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการ
2. Process 1.2 แสดงข้อมูลเป็นขั้นตอนการแสดงข้อมูล
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 1.1 มาทำการแสดงข้อมูล
3. Process 1.3 บันทึกข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วเป็นขั้นตอนที่ทำการบันทึกข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงเรียบร้อย
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 1.2 นำมาประมวลผลจากนั้นจะทำการบันทึกข้อมูลไปยังแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลลูกค้า และจะส่งข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงไปให้กับพนักงาน

อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 2


Process 2 สืบค้นข้อมูลมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 Process ดังนี้
1. Process 2.1 ตรวจสอบรายการสินค้าเป็นขั้นคอนการตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการสินค้า
2. Process 2.2 แสดงรายละเอียดสินค้าเป็นขั้นตอนการแสดงผลการค้นหาข้อมูลสินค้า
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 2.1 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า
…………………………………………………………………………………………….

อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 3

Process 3 สั่งซื้อสินค้าเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 5 ขั้นตอนหรือ 5 Process ดังนี้

1. Process 3.1 ตรวจสอบข้อมูล เป็นขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
- Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการชำระเงิน ข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลดังกล่าวมาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
2. Process 3.2 เลือกรายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.1 มาทำการประมวลผลเพื่อทำการเลือกรายการสินค้า
3. Process 3.3 แสดงรายละเอียดเป็นขั้นตอนที่ระบบจะทำการแสดงผลเพื่อแสดงรายละเอียด
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.2 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงรายละเอียดไปให้กับลูกค้า
4. Process 3.4 ยืนยันการสั่งซื้อเป็นขั้นตอนการทำการยืนยันการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.3 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อ
5. Process 3.5 บันทึกเป็นขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.4 มาทำการประมวลผลเพื่อบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าไปจัดเก็บที่แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและส่งใบสั่งซื้อให้กับลูกค้า
………………………………………………………………………………………..



 การออกแบบ User Interface
ขั้นตอนการออกแบบ User Interfaces และลำดับของการติดต่อกับผู้ใช้


1. คำนวณต้นทุนแยกคลังสินค้าอย่างชัดเจน โดยคลังที่ไม่เคลื่อนไหวต้นทุนจะเท่าเดิม
2. สามารถกำหนดสูตรวัตถุดิบไว้ก่อนแล้วนำไปผูกกับสินค้าได้หลาย รหัสสินค้า และสามารถผูกได้หลายระดับ
3. สามารถรวมประกอบสินค้าเป็นชุดเพื่อขายโดยอ้างอิงสูตรวัตถุดิบได้
4. สามารถออกใบสั่งผลิตตามสูตรและเปลี่ยนแปลงสูตรในหน้าใบสั่งผลิตได้
5. สามารถเบิกวัตถุดิบตามใบสั่งผลิตและควบคุมวัตถุดิบที่ยังงไม่เบิกได้
6. สามารถบันทึกรับสินค้าสำเร็จรูปตามใบสั่งผลิต พร้อมกับคำนวณต้นทุนผลิตให้อัตโนมัติ
7. สาขาสามารถบันทึกใบขอโอนสินค้าได้ จากนั้นสำนักงานก็ทำการจัดโอนสินค้าเพื่อจัดส่ง เมื่อสาขาได้รับสินค้าแล้วก็บันทึกใบโอนสินค้าตามใบจัดส่งได้
8. การตรวจนับสต็อกสามารถพิมพ์เอกสารใบตรวจนับได้ และสามารถนำเขาผลการตรวจนับจาก Text File ได้
9. สามารถบันทึกปรับปรุงเพิ่ม/ลดได้ทั้งปริมาณและมูลค่า หรือ มูลค่าอย่างเดียวก็ได้
10. สามารถพิมพ์บาร์โค้ดสินค้าและพิมพ์ Shelf Label ได้
11. มีระบบจัดสินค้าตามใบสั่งขายด้วยการยิงบาร์โค้ด เพื่อลดการจัดสินค้าผิดรหัส และนำยอดที่จัดได้จริงไปออกใบส่งของ/ใบกำกับภาษี
12. มีระบบ Production Forecast เพื่อประมาณการในการใช้สินค้า / วัตถุดิบ