ฝ่ายการตลาด


ฝ่ายการตลาด

หน้าที่หลักของการตลาด
1.             จัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด
2.             แจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค
3.              การบริการให้ความสะดวก  เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง  และถาวร  การตลาดจึงต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจต่าง ๆ
4.             สื่อสารข้อมูลทางการตลาด  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต  เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค  บริโภค  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง    
5.             การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ตลาดเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด อันจะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา และการวิเคราะห์ตลาดยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และคาดคะเนผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้มีการเตรียมแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีด้วย    
6.             การทำให้สินค้าต่างกัน เมื่อได้รับข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้ว หน้าที่ของตลาดก็จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการขึ้นใหม่ เพื่อสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อ
7.             การตีราคาการตีราคาจะช่วยในการพิจารณาจุดคุ้มทุนว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ทางการตลาดนั้นมีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ หรือสร้างความพอใจให้กับผู้ซื้อ-ขายหรือไม่หรือหากต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์ของสังคมก็ควรจะต้องมี การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และการตลาดให้เหมาะสม  
8.             การแบ่งส่วนตลาด เป็นการทำให้ตลาดมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า เนื่องจากผู้ผลิตสามารถเจาะจงลูกค้าได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็สามารถเลือกสินค้าและบริการเฉพาะอย่างได้มากขึ้น ทำให้เกิดการประหยัดทั้งการผลิตและบริโภคด้วย
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาด

Ø 1. ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย จะประกอบด้วย
1.1 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อ
สนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายข่าย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ระบบต้องการอาจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ
1.2 ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของ
กำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขาย ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติมโตของสินค้า
1.3 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้
ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
Ø 2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด จะประกอบด้วย
2.1 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์
ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขตของการใช้สารสนเทสกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภค
2.2 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหา
ขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่วย ซึ่งอาจจะครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สารสนเทศที่จำเป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือ สภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดี่ยวกันในตลาด รวมทั้งภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์
Ø 3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้าและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวใดต้องทำการวางแผนการส่งเสริมการขายอย่างไร
Ø 4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ
เป็นระบบที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดี่ยวกันในอดีต
Ø 5. ระบบสารสนเทศสำหรับการพยากรณ์การขาย
เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมารที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวะการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา

Ø 6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศต้องการคือ สารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
Ø 7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
การกำหนดราคาทางการตลาด จะต้องคำนึงถึง ความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งราคาจากต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ สารสนเทศที่ต้องการคือ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงให้ได้สัดส่วนของกำไรที่ต้องการ
Ø 8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
การควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย

ระบบสารสนเทศสำหรับฝ่ายการตลาด



ระบบงาน
คำอธิบาย
ระดับการบริหารองค์กร
ประมวลผลการสั่งซื้อและขายสินค้า
ป้อนข้อมูลเพื่อประมวลผลรายการสั่งซื้อสินค้าและขายสินค้า
ระดับผู้ปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด
ประมวลผลการกำหนดกลุ่มลูกค้า ตลาดสินค้า โดยสำรวจจากพฤติกรรมการใช้สินค้า
ระดับผู้บริหาร
การวิเคราะห์และกำหนดราคาสินค้า
กำหนดราคาสำหรับสินค้า
ระดับผู้ชำนาญการ
การแนะนำสินค้า
การแนะนำสินค้าที่ลูกค้าสนใจ
ระดับผู้ปฎิบัติงาน

 การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)

การกำหนดความต้องการของระบบ
                ระบบฝ่ายการตลาดและการขายได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาและได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้วนั้น ดั้งนั้นในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบจึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิมเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต  เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค  บริโภค  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง 

ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
1.เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้นพนักงานจะมีสมุดหรือกระดาษสำหรับการซื้อขายกับลูกค้า  ทำให้มีเอกสารต่าง ๆ มากมาย
2.พนักงานจะไม่มีการทำสำเนาเอกสารสำรองไว้
3.เมื่อมีการที่จะตกลงจะทำการซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมานัดเจอกันเพื่อนัดวันเวลา
4.ตรวจสอบสังเกตตลาดและทำการสำรวจตลาดอาจต้องใช้เวลานาน
5.มีสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่การโปรโมทสินค้าไม่ทั่วถึง
6.แผนกฝ่ายขายและการตลาดกำหนดราคาสินค้าลาบากเนื่องจากสินค้ามีจานวนมาก
7.ระบบเดิมไม่สามารถวิเคราะห์การตลาดได้
8.มีสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่การโปรโมทสินค้าไม่ทั่วถึง


      ความต้องการในระบบใหม่ ความต้องการในระบบใหม่ ที่รวบรวมมาได้ มีดังนี้
1. สามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าที่มีอยู่จริงในคลัง
2. สามารถแก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลราคาสินค้าได้
3. สามารถคำนวณราคาสินค้าได้โดยอัตโนมัติและแสดงรายงานได้
4. สามารถกาหนดกลุ่มลูกค้าและกลุ่มตลาด
5. ทุกแผนกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
6. สามารถสืบค้นข้อมูลสินค้าได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ
7. เพิ่มประสิทธิภาพในการทางานของฝ่ายขายและการตลาด
8. การจัดทา รายงานมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบใหม่
ประโยชน์จากการนา ระบบคลังสินค้ามาประยุกต์ใช้ในบริษัท มีดังต่อไปนี้
1. ไม่มีการทา งานที่ซ้ำซ้อน
2. ทุกแผนกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
3. การทา งานของแผนกฝ่ายขายและการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. สามารถประมวลผลรายการธุรกรรมและติดตามรายการสั่งซื้อสินค้าได้
5.กำหนด ราคาสินค้า บริการ กลุ่มลูกค้าและกลุ่มตลาดสินค้าโดยใช้ข้อมูลสินค้าตัวอย่าง และพฤติกรรมของผู้บริโภค
6. บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในการนา เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางการตลาดต่อไป
7. สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัท และการเพิ่มขึ้นของจานวนพนักงานได้สามารถนา ข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อการวางแผนแข่งขันทางด้านการตลาดได้

แบบจาลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
(Process Modeling)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
(System Requirement Structuring)

จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD
       หลังจากโครงการพัฒนาระบบฝ่ายขายและการตลาด ได้รับการอนุมัติแล้ว ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ โดยสามารถ
จาลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) ดังนี้ 

อธิบาย Context Diagram Level 0
จาก Context Diagram ของระบบคลังสินค้า ซึ่งมีสัญลักษณ์เพื่อใช้แทนการทางานของระบบนี้ โดยมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี และสามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Dataflow เข้าและออกระหว่างฝ่าย และระบบ ได้ดังนี้
1. ฝ่ายบริหาร
- ระบบแจ้งข้อมูลสินค้าที่มีการปรับปรุง ทั้งเข้าและออก
- รายงานการกำหนดราคาสินค้าพฤติกรรมทางการตลาด - รายงานกิจกรรมทางการตลาด
2. ฝ่ายคลังสินค้า
- ระบบรายงานข้อมูลสินค้าที่มีในคลัง
- ระบบรายงานสินค้าคงเหลือในคลัง
- ระบบรายงานสินค้าที่นาเข้ามาและนาออกจาหน่าย
- ฝ่ายคลังแจ้งข้อมูลที่ต้องปรับปรุงเกี่ยวกับสินค้าทั้งหมดให้กับระบบ
3. ฝ่ายขายและการตลาด
- ระบบรายงานข้อมูลสินค้าที่มีการปรับปรุงหรือเรียกดู
- ระบบรายงานการวิเคราะห์การตลาด
- ฝ่ายการตลาดแจ้งข้อมูลสินค้าต่าง ๆทั้งเข้าและออกรวมไปถึงข้อมูลทางการตลาดและ ยอดขายของแต่ละสินค้าให้กับระบบ



อธิบาย DFD Level 1
จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทา งานภายในระบบขายและการตลาดออกเป็น 2 ขั้นตอน ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ โดยการแบ่งแยก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ฝ่ายคลังสินค้า
- รายงานข้อมูลสินค้าที่ต้องปรับปรุงที่เกี่ยวกับสินค้าทั้งหมดให้กับระบบเพื่อจัดการข้อมูล
- ระบบจัดการข้อมูล รายงานยอดเงินที่ขายได้ รายงานข้อมูลสินค้าที่มีในคลังรายงานสินค้าคงเหลือในคลัง รายงานข้อมูลสินค้านาเข้าและนาออก เมื่อมีการเรียกดู
2. ฝ่ายการตลาด
- รายงานการตลาดมีการรายงานข้อมูลสินค้าต่าง ๆและยอดขายของแต่ละสินค้า
- ระบบรายงานข้อมูลสินค้าที่มีการปรับปรุง หรือเรียกดู* และรายงานสินค้าที่ นาเข้าและนาออกจาหน่าย
- รายงานข้อมูลทางการตลาดให้กับระบบ
3. ระบบจัดการข้อมูล
- นาข้อมูลจากฝ่ายการขายและการตลาดและฝ่ายคลังสินค้ามาจัดการแล้วนาไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล D1,D2และD3
4. ฝ่ายบัญชี
- นาข้อมูลจากฐานข้อมูล D2 และ D3 มาจัดการข้อมูล
5. ระบบพิมพ์รายงาน
- นาข้อมูลจากฝ่ายบัญชีมาจัดทารายงานและพิมพ์รายงานให้กับฝ่ายบริหาร
- นาข้อมูลจากฐานข้อมูล D1 มาจัดทารายและพิมพ์รายงานให้กับฝ่ายบริหาร
6. ฝ่ายบริหาร
- เรียกดูรายงานยอดสินค้าคงเหลือ รายงานสินค้านาเข้าและนาออกจาหน่าย ผลการวิเคราะห์การตลาด ฯลฯ

อธิบาย DFD Level 2 ฝ่ายขายและการตลาด
จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทา งานภายในฝ่ายขายและการตลาด ออกเป็น 3 ขั้นตอน ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ โดยการแบ่งแยก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 จัดการข้อมูล
- จัดการข้อมูลที่ต้องปรับปรุงเกี่ยวกับสินค้าทั้งหมด - จัดการข้อมูลทางการตลาด
- รายงานข้อมูลสินค้านาเข้าและนาออกจาหน่าย รายงานสินค้าคงเหลือ รายงานมูลค่าสินค้าที่มีในคลัง รายงานยอดที่ขายได้ หรือเมื่อมีการเรียกดู และจัดเก็บในฐานข้อมูล
2.2 ปรับปรุงข้อมูล
- ปรับปรุงข้อมูลในฝ่ายขายและการตลาด
2.3 จัดการข้อมูล
- นาข้อมูลจากฐานข้อมูลมาจัดการและรายงานฝ่ายบริหาร หรือเมื่อมีการเรียกดู
อธิบาย DFD Level 2 ของฝ่ายบริหาร
จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทา งานภายในระบบขายและการตลาดออกเป็น 1 ขั้นตอน ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ โดยการแบ่งแยก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 พิมพ์รายงาน
- นาข้อมูลจากฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูลที่ต้องปรับปรุงเกี่ยวกับสินค้าทั้งหมด ฐานข้อมูลสินค้าต่าง ๆ ฐานข้อมูลสินค้านาเข้าและนาออกและคงเหลือ และผลการวิเคราะห์การตลาด ไปจัดพิมพ์รายงานเพื่อส่งฝ่ายบริหาร
- ฝ่ายบริหารเรียกดูข้อมูล

อธิบาย DFD Level 2 ของฝ่ายคลังสินค้า
จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทา งานภายในระบบขายและการตลาดออกเป็น 3 ขั้นตอน ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ โดยการแบ่งแยก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 จัดการข้อมูล
- ฝ่ายการตลาดรายงานข้อมูลสินค้าต่าง ๆ และยอดขายของแต่ละสินค้าให้กับระบบจัดการข้อมูล
- ฝ่ายการตลาดเรียกดูข้อมูลสินค้าที่มีการปรับปรุง และราการสินค้าที่นาเข้าและ
นาออก
- ระบบจัดการข้อมูลนาข้อมูลเก็บในฐานข้อมูล
2.2 ปรับปรุงข้อมูล
ปรับปรุงข้อมูลให้กับฝ่ายการตลาด
2.3 พิมพ์รายงาน
- ระบบพิมพ์รายงานจากฐานข้อมูลให้กับฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายบริหารมีการเรียกดู 

อธิบาย DFD Level 2 ของฝ่ายบัญชี/การเงิน
จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทา งานภายในระบบขายและการตลาดออกเป็น 1 ขั้นตอน ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ โดยการแบ่งแยก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 พิมพ์รายงาน
- ฝ่ายบัญชี นาข้อมูลในฐานข้อมูลส่งให้ระบบพิมพ์รายงาน
- ระบบจัดพิมพ์รายงานนาข้อมูลในฐานข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานและรายงานให้ฝ่ายบริหาร
- ฝ่ายบริหารเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ
การออกแบบ User Interface
ขั้นตอนการออกแบบ User Interfaces และลำดับของการติดต่อกับผู้ใช้
หลังจากแบบฟอร์มและรายงานที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนที่ผ่านมา ได้รับการ
เห็นชอบจากผู้ใช้ระบบและผู้บริหารแล้ว มาถึง ขั้นตอนการออกแบบส่วนติดต่อกับ
ผู้ใช้ (User Interfaces) ของแบบฟอร์มต่าง ๆ ดังกล่าว ในระบบคลังสินค้า จะใช้แบบกราฟิก
(Graphic User Interfaces) และมีการเลือกใช้รูปแบบการโต้ตอบกับผู้ใช้ผสมผสานกันหลายรูปแบบ โดยออกแบบหน้าจอของโปรแกรมตามลา ดับขั้นตอนการทา งานที่แสดงไว้ในแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) แสดงหน้าจอดังต่อไปนี้
ระบบบัญชีแยกประเภท ข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกส่งมาจาก ระบบซื้อ, ระบบขาย, การเงิน และระบบอื่น ๆ
1. จัดเตรียมผังบัญชีตัวอย่างไว้ให้ และสามารถ แก้ไข เพิ่มเติม ลบทิ้ง เพื่อให้ตรงกับระบบงานของบริษัทได้
2. สามารถสร้างงบการเงินได้ทุกรูปแบบ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจแต่ละประเภท อาทิเช่น - ในงบเปรียบเทียบสามารถนาข้อมูลมาแสดงเปรียบเทียบได้สูงสุด 18 คอลัมน์ - ข้อมูลที่นามาแสดงสามารถสร้างสูตรเพื่อคำนวณ หรือดึงมาจากฟิลด์ข้อมูลที่กำหนดให้ - ในแต่ละคอลัมน์สามารถเลือกให้แสดงข้อมูลเฉพาะแผนกตามที่ต้องการ - สามารถแสดงข้อมูลในรูปอัตรา % โดยใช้ยอดรวมของข้อมูลเป็นฐานการคำนวณ - ในงบเดียวกัน ในแต่ละบรรทัด หรือแต่ละบัญชี สามารถดึงข้อมูลจากคนละฟิลด์มาแสดงได้สามารถกำหนดข้อความ(Wording)ที่จะแสดงในรายละเอียดหน้างบได้ตามต้องการ
3. มีระบบควบคุมเงินสดย่อย หรือเงินทดลองจ่าย สามารถดูความเคลื่อนไหวของเงินสดได้ตลอดเวลา
4. รายงานสมุดเงินสดย่อย สามารถกำหนดชื่อค่าใช้จ่ายที่แสดงในหัวรายงานของแต่ละคอลัมน์ได้เอง 4 ชื่อ
5. สามารถพิมพ์และแก้ไขรูปแบบใบเบิกเงินสดย่อยและใบเบิกชดเชยเงินสดย่อย ได้ตามความต้องการ
6. สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายที่มีใบกากับภาษีหลายใบ ในใบสำคัญจ่าย(Voucher)ใบเดียวกัน
7. สามารถพิมพ์และแก้ไขรูปแบบใบสำคัญ (Voucher) ได้ตามความต้องการ 8. สามารถพิมพ์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งแบบภงด.3 และภงด.53 ตรงตามแบบกรมสรรพากร


E-R Model  ระบบการตลาด

ตาราง Customer (ลูกค้า)

ตาราง Product (สินค้า)

ตาราง Order (สั้งซื้อสินค้า)

ตาราง Order-detail (รายละเอียดใบการสั่งซื้อสินค้า)

ตาราง payment (การชำระเงิน)

delivery (การจัดส่งสินค้า)